เผย 28 เคล็ดลับยาสมุนไพรรักษาโรค
การใช้สมุนไพรเป็นยาบำบัดโรคนั้นอาจใช้ ในรูปยาสมุนไพรเดี่ยวๆ หรือใช้ในรูปตำรับ ยาสมุนไพร ปัจจุบันตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณที่กระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ใช้รักษาโรคได้มีทั้งหมด 28 ขนาน เช่น
ยาจันทน์ลีลา ใช้แก้ไข้ แก้ตัวร้อน
ยามหานิลแท่งทอง ใช้แก้ไข้ แก้หัด อีสุกอีใส
ยาหอมเทพพิจิตร แก้ลม บำรุงหัวใจ
ยาเหลืองปิดสมุทร แก้ท้องเสีย
ยาประสะมะแว้ง แก้ไอ ขับเสมหะ
ยาตรีหอม แก้ท้องผูกในเด็ก ระบายพิษไข้
สมุนไพรที่นิยมใช้เดี่ยวๆ รักษาอาการของโรคที่พบบ่อยๆ ได้แก่
สมุนไพรแก้ไข้ ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด
สมุนไพรแก้ท้องเสีย กล้วยน้ำว้า ทับทิม ฝรั่งดิบ
สมุนไพรแก้ไอ มะแว้ง ขิง มะนาว
สมุนไพรแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขมิ้นชัน แห้วหมู กระชาย
สมุนไพรช่วยให้นอนหลับ ขี้เหล็ก ดอกบัวหลวง หัวหอมใหญ่
สมุนไพรแก้เชื้อรา กระเทียม ข่า ชุมเห็ดเทศ
สมุนไพรแก้เริม เสลดพังพอนตัวเมียและตัวผู้
สูตรสมุนไพรบำรุงผิวหน้า
1.ว่านหางจระเข้ : บำรุงผิว ป้องกันฝ้า ลบรอยจุด ด่างดำ รักษาสิว
2.แตงกวา : สมานผิว ลบรอยเหี่ยวย่น
3.มะเขือเทศ : สมานผิว ลดรอยเหี่ยวย่น จุดด่างดำ
4.ขมิ้นสด : บำรุงผิวหน้าผุดผ่องสดใสอ่อนวัย และช่วยให้สิวยุบเร็ว
5.กล้วยน้ำว้าสุก : บำรุงผิวนุ่มเนียนอ่อนวัย
6.หัวไชเท้า : ช่วยลดรอยฝ้าและกระให้จางหาย
สมุนไพรที่มีสารต้านเซลล์มะเร็ง
มะกรูด ผักแขยง ขึ้นฉ่าย บัวบก ผักชีฝรั่ง กระชาย ข่าใหญ่ มันเทศ ใบมะม่วง มะกอก เบญจมาศ แขนงกะหล่ำ แตงกวา พริกไทย ดีปลี โหระพา กะเพรา ใบตะไคร้ ถั่ว ผักแว่น ผักขวง เพกา ช้าพลู (ชะพลู) ลูกผักชี เร่ว เหงือกปลาหมอ ขมิ้นอ้อย หัวหอมแดง หอมหัวใหญ่ กระเทียม ฯลฯ
สมุนไพรที่มีสารแอนตี้ออกซิแดนต์ (วิตามินเอ ซี อี)
วิตามินเอสูง ได้แก่ ใบยอ ใบย่านาง ตำลึง ผักกูด มะระ กระสัง ผักแพว ผักชีลาว ผักแว่น ผักบุ้ง เหลียงกระเจี๊ยบแดง แมงลัก ชะอม พริกชี้ฟ้าแดง แพงพวย ขี้เหล็ก ฯลฯ
วิตามินซีสูง ได้แก่ มะขามป้อม ฝรั่ง มะปราง ขนุน ละมุด มะละกอ มะกอก ส้ม มะขาม ลูกหว้า พุทรา ฯลฯ
วิตามินอีสูง ได้แก่ พวกธัญพืชต่างๆ เช่น งาดำ ข้าวซ้อมมือ จมูกข้าว ข้าวโพด ฯลฯ
เบตาแคโรทีนสูง ได้แก่ แคร์รอต ฟักทอง แค กะเพรา แพชั่นฟรุต ขี้เหล็ก ผักเชียงดา ยอดฟักข้าว ผักแซ่ว ฯลฯ
สมุนไพรไทยและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่แสดงฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง
พืชสมุนไพร บวบขม จำปีป่า ปลาไหลเผือก ทองพันชั่ง เจตมูลเพลิงแดง ราชดัด ฝาง แสมสาร ติงตัง ขมิ้นต้น ฟ้าทะลายโจร กระเทียม ประยงค์ รงทอง ข่อย ขมิ้นชัน แกแล สมอไทย ขันทองพยาบาท
เครือเถาวัลย์ ดองดึง โล่ติ้น เจตมูลเพลิงขาว มังคุด โทงเทง ทับทิม จำปา ไพล ปรู จำปีหลวง พลับพลึง สบู่ดำ แพงพวยฝรั่ง สีเสียด กะเม็ง สมอพิเภก
สมุนไพรกับโรคความดันโลหิตสูง
ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงจะต้องได้รับการควบคุมดูแลจากแพทย์แผนปัจจุบัน และในการนำสมุนไพรมาใช้ใน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะต้องระมัดระวัง และจะต้องตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอจากแพทย์แผนปัจจุบัน สมุนไพรที่ใช้ขับปัสสาวะมีดังนี้
หญ้าหนวดแมว ในใบของหญ้าหนวดแมวจะมีเกลือโพแทสเซียมปริมาณ 0.7-0.8% ใช้ใบอ่อนเป็นยาขับปัสสาวะที่มีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากเกลือโพแทสเซียมในใบอ่อนจะมีปริมาณสูง ตามตำรายาไทยใช้แก้โรคปวดตามสันหลังและเอว ใช้ขับนิ่วและลดความดันโลหิตสูง
ข้อควรระวัง
1.เนื่องจากหญ้าหนวดแมวมีเกลือโพแทสเซียมสูงจึงไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ
2.ควรใช้การชง ไม่ควรใช้การต้ม และควรใช้ใบอ่อน เพราะใบแก่จะมีเกลือโพแทสเซียมละลายออกมามาก มีฤทธิ์กดหัวใจ ทำให้หายใจผิดปกติได้
3.ควรใช้ใบตากแห้ง ถ้าใช้ใบสดจะมีอาการคลื่นไส้และหัวใจสั่น
4.ไม่ควรใช้หญ้าหนวดแมวคู่กับยาแอสไพริน เพราะจะทำให้ยามีฤทธิ์ต่อหัวใจมากขึ้น
5.ก่อนการใช้ควรปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบันและได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอเพื่อความปลอดภัย
หญ้าคา ในรากหญ้าคามีสารอะรันโดอินและไซลินดริน ทั้งกรดอินทรีย์หลายชนิด ตามตำรับยาไทยใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา โดยต้นหญ้าคาสด 40-50 กรัม (น้ำหนักแห้ง 10-15 กรัม) หรือ 1 กำมือ ต้มดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร)
หมายเหตุ การใช้สมุนไพรขับปัสสาวะทุกชนิดต้องปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบัน เนื่องจากการใช้ยาขับปัสสาวะเกินขนาดอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้
สรรพคุณสมุนไพรที่ช่วยลดไขมันในหลอดเลือด
1.น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย จากการวิจัยในสัตว์ทดลองและในคนพบว่าน้ำมัน เมล็ดดอกคำฝอยช่วยทำให้ปริมาณคอเลส เตอรอลในเลือดลดลงและลดการอุดตัน ไขมันในหลอดเลือดได้
2.กระเทียม มีสารอัลลิซินที่มีฤทธิ์ลด ไขมันในหลอดเลือดได้ ซึ่งจะใช้กระเทียม ประมาณ 5-7 กลีบ รับประทานหลังอาหารทุกมื้อ เป็นเวลา 1 เดือน ปริมาณคอเลส เตอรอลในเลือดจะลดลง
3.ถั่วเหลือง ในถั่วเหลืองจะมีกรด อะมิโน เลซิติน และวิตามินอีสูง จะช่วยลดระดับไขมันในหลอดเลือด
การปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดโรคเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ
1.การรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย เช่น ปลา ผัก ผลไม้ อาหาร สมุนไพร ไม่รับประทานอาหารรสเค็มจัด
2.การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3.การพักผ่อนให้เพียงพอ
4.ตรวจร่างกายประจำทุกปี
สรุปรายชื่อสมุนไพรที่ควรใช้ในรูปอาหารกับโรคเบาหวาน ได้แก่
บอระเพ็ด มะระไทย ลูกใต้ใบ หญ้าใต้ใบ มะแว้ง เครือมะแว้ง ต้นตำลึง ฟ้าทะลายโจร สะตอ ว่านหางจระเข้ แมงลัก อินทนิลน้ำ หอมใหญ่ กระเทียม หญ้าหนวดแมว เตยหอม ฝรั่ง ช้าพลู ขี้เหล็ก สะเดา ผักบุ้ง สักกำแพงเจ็ดชั้น มวกแดง-ขาว ชะเอมไทย รากลำเจียก รากคนทา
หมายเหตุ - การรักษาโรคเบาหวานควรปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบัน เพราะการใช้ยาลดระดับน้ำตาลร่วมกับยาแผนปัจจุบันอาจจะทำให้น้ำตาลลดลงมากเกินไป เป็นอันตรายได้ จึงแนะนำให้ใช้สมุนไพรในรูปของการปรุงอาหารในชีวิตประจำวัน
สมุนไพรกับโรคเอดส์
รายงานการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสมุนไพรรักษาโรคเอดส์มีการศึกษาเกี่ยวกับสมุนไพรหลายชนิด
โปรตีนจากระหุ่ง แม้ว่าจะมีพิษแต่ก็มีผู้พบว่าส่วนหนึ่งของโปรตีน Ricin ซึ่งเป็นพิษคือ dg A สามารถจับ antibody ของ HIV ซึ่งทำให้ไปยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส โดยมีผลต่อเซลล์ปกติเพียง 1/1,000 ของเซลล์ที่มีไวรัส
การค้นพบนี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นในการพบยาที่ป้องกันหรือยืดเวลาในการเกิดโรคเอดส์
Hypericum spp.
พืชสกุลนี้บ้านเรามี บัวทอง (Hyperi cum garrettii Craib) มีผู้สกัดสาร Hypericin และ Pseudohypericin จากพืชนี้ พบว่ามีฤทธิ์ป้องกันการขยายตัวของไวรัสเอดส์
Castanospermun australe
Tyms และคณะได้พบว่าแอลคาลอยด์ 3 ชนิด มีผลยับยั้งเอนไซม์ที่ช่วยให้ไวรัสจับกับ T-cells ซึ่งสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย และแอลคาลอยด์ที่ให้ผลดีที่สุดคือ Castanospermine จาก Castanospermum australe ไม้ยืนต้นของออสเตรเลีย และสารนี้มีพิษน้อย มีฤทธิ์ข้างเคียง เช่น น้ำหนักลด ท้องเสีย
ยังไม่มีสมุนไพรใดที่ใช้รักษาโรคเอดส์ได้จริงจัง ส่วนใหญ่ยังอยู่ระหว่างการทดลอง ซึ่งบางอย่างก็ทดลองโดยไม่ถูกกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาสมุนไพร ก็เป็นแนวทางหนึ่งในการจะค้นพบยารักษาโรคนี้